วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตำนาน เทพแห่งมหาสมุทร เทพโปเซดอน (Poseidon)


เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ปกครองดินแดนแห่งท้องน้ำ ตั้งแต่แหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จนถึงใต้บาดาล มีสามง่ามเป็นอาวุธ บางตำนานกล่าวว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าด้วย

ตามตำนานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครโนส กับ เร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 4 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมปัสทั้งสิ้น ได้แก่

1.ซูส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
2.ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก
3.เฮรา ชายาแห่งเทพซูส
4.เฮสเตีย เทพีแห่งเตาผิง

ภาพลักษณ์ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดทะเลคลั่งหรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอนเคยคิดที่จะโค่นอำนาจของซุส โดยร่วมมือกับเฮราและอะธีนา แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกับอพอลโลด้วยเช่นกัน

โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่ง ที่เป็นหญิงรับใช้ของอะธีนา คือ เมดูซ่า ก่อนที่จะถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพราะหลงใหลในความงามของเมดูซ่า (บางตำราบอกว่า เมดูซ่า หลงไหลโพไซดอนก่อน และโพไซดอน แปลงเป็นม้ามาร่วมรักกับเมดูซ่า)  เมื่ออะธีนาทราบเรื่องจึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไปหมด เมื่อเปอร์ซิอุสตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว (เนื่องจากโพไซดอน แปลงกายเป็นม้ามาร่วมรักกับเมดูซ่า) คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้งเพกาซัสและคริสซาออร์เป็นลูกของโพเซดอนด้วย

โพเซดอน มีพาหนะเป็นม้าน้ำเทียมรถ ที่มีส่วนบนเป็นม้าและท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้งจะพบรูปโพเซดอนอยู่บนรถเทียมม้าน้ำนี้ขึ้นมาจากทะเล

โพไซดอน เทพเจ้าแห่งทะเลเป็นเทพเจ้าที่หงุดหงิด โมโหง่าย และอารมณ์รุนแรง ดวงเนตรสีฟ้าดุดันมองผ่านทะลุม่านหมอกได้ และเกศาสีน้ำทะเลสยายลงมาเบื้องหลัง เธอได้รับสมญาว่า ผู้เขย่าโลกเพราะเมื่อปักตรีศูลลงบนพื้นดิน โลกพลันสั่นสะเทือน และแยกออกจากกัน เมื่อฟาดตรีศูลลงบนทะเล บังเกิดคลื่นลูกใหญ่เท่าภูเขา และเกิดพายุมีเสียงครึกโครมน่ากลัว ทำเรือแตกและผู้คนที่อาศัยอยู่ชายทะเลจมน้ำตาย แต่เมื่อยามโพไซดอนอารมณ์ดี ทรงยื่นพระหัตถ์ออกไป ทำให้ทะเลสงบและทรงยกแผ่นดินใหม่ขึ้นจากน้ำ

ในสมัยที่โครนัสและเทพไททันเป็นใหญ่อยู่นั้น เนรูสเป็นผู้ครอบครองทะเล เนรูสเป็นโอรสของแม่พระธรณีกับพอนทัส หรือทะเล ซึ่งเป็นสวามีองค์ที่สอง เนรูสเป็นเทพเจ้าผู้ชราแห่งทะเล มีหนวดสีเทายาว มีหางเป็นปลา และมีธิดาเป็นนางพรายน้ำห้าสิบนาง คือ เนรีด ผู้น่ารัก เมื่อโพไซดอน เทพเจ้าแห่งโอลิมปัสได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าแห่งทะเลแทนเนรูส ผู้ชราที่มีน้ำพระทัยดีก็ทรงยกธิดานามว่า อัมฟิไทรต์ ให้เป็นมเหสีของโพไซดอน แล้วเธอ( เนรุส) เองก็ปลีกตัวไปประทับอย่างสงบในถ้ำใต้บาดาล เนรูสทรงยกปราสาทใต้ทะเลให้แก่พระราชาและพระราชินีองค์ใหม่ด้วย ปราสาทองค์นี้ทำด้วยทองคำตั้งอยู่ในสวนหินปะการังและไข่มุก อัมฟิไทรต์ประทับที่ปราสาทนี้อย่างมีความสุข ห้อมล้อมด้วยนางพรายน้ำพี่น้องอีกสี่สิบเก้านาง นางมีโอรสองค์เดียว นามว่า ไทรทัน ซึ่งมีหางเป็นหางปลาเหมือน เนรูสผู้เป็นอัยกา ทรงขี่หลังสัตว์ทะเลและทรงเป่าสังข์ท่องเที่ยวไปในทะเล

โพไซดอนไม่ค่อยประทับอยู่ที่ปราสาท ไม่ชอบอยู่นิ่งๆ ทรงโปรดขับรถเทียมม้าสีขาวเหมือนหิมะแข่งกับลูกคลื่น กล่าวกันว่าเธอเนรมิตม้าในรูปของคลื่นที่แตกกระจาย โพไซดอนทรงมีชายาและโอรสธิดามากมาย เหมือนซูส แต่อัมฟิไทรต์ไม่ทรงหึงหวงเหมือนเฮรา

มีเกาะหนึ่งที่โพไซดอนทรงยกขึ้นมาสูงกว่าระดับน้ำทะเลชื่อว่า เกาะดีลอส เกาะนี้เพิ่งสร้างขึ้นจึงยังคงลอยไปมาอยู่ในน้ำ เกาะเล็กๆ นี้พื้นดินยังไม่อุดมสมบูรณ์ ยังไม่มีพืชพรรณอื่นใดนอกจากต้นปาล์มต้นเดียวเท่านั้น ในร่มเงาของต้นปาล์มนี้ เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สององค์ คือ อะพอลโล กับ อาร์ทีมิส ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

ซูสได้อภิเษกกับเทพธิดา ลีโท พอเฮราทรงทราบว่าลีโททรงครรภ์แฝด ก็ทรงกริ้วมาก และรับสั่งห้ามมิให้พื้นดินทุกแห่งในโลกให้ที่พำนักแก่นาง ลีโทจึงต้องซัดเซพเนจรไปเรื่อยไป ไม่สามารถหาที่พำนักเพื่อประทานกำเนิดแก่เทพเจ้าแฝดได้

ในที่สุดนางก็มาถึงเกาะดีลอส เกาะน้อยนี้ให้การต้อนรับนาง เนื่องด้วยเกาะนี้ยังลอยอยู่ ยังไม่ได้เป็นแผ่นดิน จึงมีลักษณะไม่ตรงกับที่เฮราทรงรับสั่งไว้ ลีโททรุดกายลงใต้ร่มต้นปาล์มอย่างเหนื่อยอ่อน แต่ยังประสูติไม่ได้ เนื่องจากเฮรารับสั่งห้ามเทพธิดา อิลิเทียอา.. เทพีแห่งเด็กเกิดใหม่ไม่ให้ช่วยเหลือ ถ้านางไม่ช่วยเด็กจะคลอดไม่ได้ เทพธิดาอื่นๆ ทรงสงสารลีโท จึงพยายามอ้อนวอนให้พระทัยของเฮราอ่อนลง โดยถวายสร้อยพระศอเส้นงามแก่นาง สร้อยเส้นนี้ยาวเก้าหลา ทำด้วยทองคำและอำพัน ในที่สุดเฮราก็ทรงยอมปล่อยอิลิเทียอาไป แล้วเทพธิดาไอริสทรงนำอิลิเทียอาลงมาหาลีโททางสายรุ้ง

ฝาแฝดพี่องค์แรกของลีโท คือ อาร์ทีมิส เป็นเทพธิดาแสนสวยดุจดวงจันทร์ เส้นเกศาสีดำเหมือนรัตติกาล นางได้เป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ ฝาแฝดองค์รองคือ อะพอลโล ซึ่งเป็นเทพบุตรที่สง่างามราวดวงอาทิตย์ เธอได้เป็นเทพเจ้าแห่งดนตรี แสงสว่างและเหตุผล

ซูสดีพระทัยที่เห็นคู่แฝดสวยงามทั้งคู่ ท่านได้ประทานธนูเงินและลูกธนูเต็มกระบอกให้คนละชุด ลูกธนูของอาร์ทีมิสอ่อนนุ่มเหมือนแสงจันทร์ และผู้ถูกลูกธนูนี้จะตายโดยไม่เจ็บปวดเลย ส่วนลูกธนูของอะพอลโลแข็งและแหลมคมเหมือนแสงอาทิตย์

ซูสประทานพรแก่เกาะนี้และยังผูกติดไว้กับก้นทะเลด้วย หญ้าและไม้ดอกเจริญงอกงามขึ้นจากพื้นดินที่แห้งแล้ง แต่นั้นมา ดีลอสกลายเป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาเกาะของประเทศกรีซ ผู้จาริกแสวงบุญต่างพากันมาที่เกาะนี้ และสร้างเทสาลัยและสมบัติไว้มากมายเพื่อเทิดทูนลีโอและโอรสธิดาคู่แฝดของนาง ในสมัยโบราณ ที่แหลมสุนิอ้อน ห่างจากกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซไม่มาก มีวิหารที่สร้างถวายแด่โพเซดอนอยู่

อำนาจของโปเซดอนซึ่งปกครองดูแลน่านน้ำทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น ทะเลลึก ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร ละหานห้วย หรือแม้แต่เทพและนางอัปสรประจำน่านน้ำทั้งปวง ยังมีประสาทงดงามตระการตาอยู่ใต้ท้องทะเลเอเยี่ยน นอกจากที่ประทับสวรรค์ชั้นโอลิมปัสแล้ว ดังจะเห็นว่านอกจากซูสแล้ว ไม่มีเทพองค์ใดที่มีอำนาจเกรียง ไกรไปกว่าท้าวเธอเลยที่เห็นก็มีเพียง ฮาเดส เทพครองนรก จ้าวแดนบาดาล ซึ่งทำให้ท้าวเธอถึงกับเคยคิดครองความ เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวโดยร่วมมือกับเทวีฮีร่าและเทวีเอเธน่าพยายามโค่นเทพปริณายกซูสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซูสลง ทัณฑ์เนรเทศโปเซดอนให้มาทำงานตรากตรำลำบากบนโลกมนุษย์ในเมืองทรอยโดยต้องสร้างกำแพงกรุง ทรอยให้ท้าว เลือมมิดอน (Laomedon) กษัตริย์ในขณะนั้น

โปไซดอนคือเทวะที่ครอบครองผืนน้ำทุกถิ่นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ หนอง บึง หรือแม่น้ำ ลำคลอง เป็นนายของทุกชีวิตที่แหวกว่ายระเริงชลภายใต้น้ำ รวมทั้งนายตัวที่อยู่บริเวณผิวน้ำด้วยล่ะ แต่กว่าจะได้ตำแหน่งอันมโหฬารพันลึก เป็นใหญ่ในน่านน้ำอย่างนี้ได้ก็ต้องฝ่าฟันศึกใหญ่กันหืดขึ้นคอมาแล้ว เรื่องพี่น้องชิงบัลลังก์ เมื่อก่อนผืนน้ำทั้งหมดเนี่ยเป็นของเทพฝ่ายไททั่น ชื่อโอเชียนุส (Oceanus) ซึ่งก็เป็นผู้สร้างท้องทะเลขึ้นมากับมือ แต่หลังจากที่เทพกลุ่ม อันได้แก่ ซุส โปไซดอน และเฮเดส จับมือกัน ร่วมกันวางแผนเคลียร์ผู้ครองบัลลังก์คนเก่าๆ ทิ้งไปสำเร็จ โปไซดอนก็ได้ส่วนแบ่งเป็นอาณาเขตผืนน้ำมาครอง ในขณะที่ ซุส จับจองสวรรค์และเฮเดสก็ได้ครองยมโลก

ส่วนแบ่งทีมีขนาดมโหฬารพันลึกนี่เองที่ทำให้เทพโปไซดอนกำชะตาของโลกไว้ในอุ้งมือ เพราะทุกสิ่งในโลกมีน้ำเป็นพื้นฐานการดำรงอยู่ ความรู้สึกเช่นนี้ก่อให้ความลำพองใจแกมหาเทพเอามากๆ จนเหมาเอาว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกย่อมต้องเป็นของพระองค์ทั้งหมดเนื่องเพราะต้องอาศัยน้ำของพระองค์ จึงเมื่อพอใจจะประทานแก่ใครก็ให้แต่ผู้นั้น ส่วนคนที่พระองค์ไม่โปรดก็ต้องอดไปตามระเบียบ ความเดือดร้อนของชาวโลกที่เกิดเพราะนิสัยขี้โอ่อันนี้แหละ เลยทำให้บรรดามนุษย์ สัตว์ และภูตพรายต่างๆ พากันเข้าเฝ้าร้องเรียนต่อมหาเทพซูสผู้พี่ให้กำราบเอาบ้าง แต่โปไซดอนนะหรือจะยอม นอกจากจะไม่ฟังแล้วยังบันดาลให้น้ำท่วมเอาเสียบ้าง ให้น้ำแล้งเอาชีวิตเสียบ้าง เป็นการกลั่นแกล้งให้มนุษย์กลัวพระองค์

ผลการที่พระองค์ต้องการกลั่นแกล้งมนุษย์ บันดาลให้ผืนดินแห้งแล้ง ภายหลังกลับกลายเป็นหนามแหลมทิ่มแทงองค์เอง ผืนดินที่แตกระแหงไปแล้วไม่สามารถทำให้ชุ่มฉ่ำขึ้นมาได้อีกด้วยบางแห่งถึงกับกลายเป้นทรายไปเลย ยิ่งเห็นพื้นดินแห้งแล้งมากเท่าไรยิ่งทำให้โปไซดอนหัวเสียมากเท่านั้น ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเริ่มรบกวนจิตใจของเทพเจ้า จนไม่ช้าก็ไม่อาจทนเห็นได้อีกต่อไป พระองค์จึงกลับลงไปใต้ท้องทะเลซึ่งปราสาททองคำของพระองค์ตั้งตระหง่านอยู่ที่นั่น มันเป็นที่เดียวเท่านั้นที่จะช่วยรักษาเยียวยาความรู้สึกผิดให้บรรเทาลง กระนั้นโปไซดอนก็ใช่ว่าจะทองะระไปเสียหมด หลายครั้งที่ท้าวเธอออกมาจากพระราชวังใต้ท้องสมุทร ทรงราชรถเทียมอสุรกายประเภทต่างๆ ขึ้นมาสำรวจโลกเหมือนกัน คราใดที่รถทรงของพระองค์ลอยฟ่องอยู่เหนือผิวน้ำยามนั้น เกลียวคลื่นจะแหวกเป็นทางพร้อมๆ กับลมพายุจะโหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่ง เรือใหญ่น้อยที่อยู่ในบริเวณนั้นจุถูกกลืนลงใต้น้ำในชั่วพริบตา น้ำทะเลที่ล้นเป็นระลอกก็จะกวาดชายฝั่งจนบ้านเรือนที่ตั้งเรียงรายอยู่ไม่มีอะไรเหลือ ยิ่งเห็นทะเลคลั่งมากเท่าไรดูเหมือนโปไซดอนจะยิ่งนึกสนุก พระองค์จะยิ่งพุ่งสามง่ามขึ้นไปบนท้องฟ้า บังเกิดเป็นสายฟ้าจากกลุ่มเมฆดำ และสายฝนจะยิ่งเทกระหน่ำลงมาท่วมบ้านเรือนได้รับความเดือดร้อนกันทั่วหน้า กว่ามหาเทพจะเล่นสนุกสะใจ มนุษย์ ก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน จากนั้นท้าวเธอก็จะเสด็จกลับไปสู่ใต้พื้นมหาสมุทรไม่ยอมปล่อยความชุ่มชื้นมาสู่ผิวโลกอีกเป็นเวลาเท่าที่จะพอใจ

เทพของฝรั่ง อาจต่างไปจากเทพที่เรารู้จักตามตำนานไทยหรืออินเดีย ที่มักรู้จักกันแต่ในด้านที่ดีงาม เทพฝรั่งจะมีอำนาจมาก และเต็มไปด้วยพฤติกรรมที่คล้ายมนุษย์หลายอย่างที่บางอย่างก็ไม่น่าเข้าใจ เราฟังมาและเลือกแต่เรื่องดีๆ มาใช้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เทพเหล่านี้ ก็เป็นที่เคารพบูชาของชาวฝรั่งอยู่ และเป็นแบบอย่างหลายเรื่อง รวมทั้งเป็นแรงบันดานใจ ในการทำความดีหลายเรื่องด้วย

ตำนาน เทพแห่งความตาย เทพฮาเดส (Hades) หรือเทพเจ้าพลูโต


ตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส(หรือชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต)

แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด คำว่า "พลูโต" นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่า นอกจากยมโลกแลัว ฮาเดสยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชือว่า ดีส (Dis) แปล ตรงตัวว่า ทรัพย์ บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า ธานาทอส (Thanatos)ในภาษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินเป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hipnos- เทพประจำ ความหลับ) แม้ว่าเทพฮาเดสอยู่ในเหล่าเทพแห่งเขาโอลิมปัส แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลก ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสเท่าไหร่นัก เธอ เองก็ไม่ใช่แขกที่ใครๆ ยินดีต้อนรับ เพราะแม้แต่เทพเจ้าด้วยกันเองยังกลัว เนื่องจากเธอปราศจากความเวทนาสงสาร แต่กอปรด้วย ความยุติธรรม เธอมีหมวกวิเศษใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้

ภายในยมโลกนั้น ชาวกรีกในสมัยโบราณเชื่อว่า ดวงวิญญาณของคนทุกคน เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะถูกพาไปรับคำพิพากษาของคณะเทพสภาในยมโลก ซึ่งอยู่ในชั้นบาดาลใต้พื้นพิภพ เป็นอาณาจักรอยู่ในความปกครอง ของเทพฮาเดส การพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังบาดาลเป็นหน้าที่ของเฮอร์เมส เทพพนักงานสื่อสารของซูส ซึ่งตำแหน่งของยมโลกนี้ บ้างก็ว่าอยู่ใต้สถานที่เร้นลับของโลก บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยข้ามมหาสมุทรไป ส่วนกวีในขั้นหลังๆ จึงบอกว่าทางลงมีหลายทางนั้นเอง ซึ่งทางลงนั้นนำไปถึงแม่น้ำแห่งความวิปโยค ชื่อว่า แอกเครอน (Acheron) แม่น้ำนี้ไหลไปสู่แม่น้ำอีกสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำแห่งความกำสรวล ชื่อ โคไซทัส (Cocytus) ตรงที่แม่น้ำทั้งสองสายนี้บรรจบกัน มีคนเรือจ้างแก่ ๆ คนหนึ่งชื่อว่า เครอน (Charon) คอยรับวิญญาณข้ามฟากไปสู่ยังประตูแข็งแกร่งดังเหล็กเพชร ซึ่งเป็นทางเข้าตรุลึกลงไปเรียกว่า ทาร์ทารัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอกที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เอรีบัส (Erebus) เครอนจะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงินเบิกทางติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอาเงินใส่ปากคนตาย ฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆ กันอยู่หลายชาติ

ที่หน้าประตูทางเข้าตรุทาร์ทะรัส มีสุนัขเฝ้าตัวหนึ่งเรียกว่า เซอร์บิรัส (Cerberus) มีหัวสามหัว หางเป็นหางมังกร มันจะยอมให้วิญญาณของคนทุกคนเข้าประตู แต่จะไม่ยอมให้กลับออกมาเป็นอันขาด เมื่อไปถึงประตูนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูกพาไปรับคำพิพากษาของสามเทพสุภา คือ แรดาแมนธัส ไมนอส และ ออร์คัส วิญญาณที่ชั่วร้ายจะถูกพิพากษาให้ต้องทน ทุกข์ทรมานอยู่ในตรุทาร์ทะรัสไปชั่วกัลป์ ส่วนวิญญาณที่ดีจะได้รับคำพิพากษาให้พาไปอยู่ยังทุ่งอีลิเซียน แดนสุขาวดีของกรีก

นอกจากแม่น้ำแอกเครอนกับโคไซทัสแล้ว ยังมีแม่น้ำอื่นอีกสามสายคั่นบาดาลไว้ต่างหากจากพิภพเบื้องบน สายหนึ่งมีชื่อว่า เฟลจีธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ สายที่สองชื่อ สติกส์ ( Styx ) เป็นแม่น้ำสาบานของเทพทั้งปวง สายที่สามชื่อ ลีธี (Lethe) แม่น้ำแห่งความลืมหรือแม่น้ำล้างความทรงจำ สำหรับให้ดวงวิญญาณในตรุทาร์ทะรัสดื่มเพื่อล้างความจำในชาติก่อนให้หมด

อนึ่ง นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลก ยังมีคณะเทวีทัณฑกรอีกคณะหนึ่งประจำอยู่ในยมโลกเช่น กัน เรียกว่า อิรินนีอิส (Erinyes) ทำหน้าที่ลงทัณฑ์แก่ดวงวิญญาณของผู้ประพฤติผิดทำนองคลองธรรมในมนุษย์โลก ในชั้นเดิมเทวีทัณฑกรคณะนี้มีหลายองค์แต่ในที่สุดมีเหลือที่กล่าวนามเพียงสาม คือ ไทสิโฟนี (Tisiphone)  มีกีรา (Megaera)และ อเล็กโต (Alecto) แต่ละองค์มีรูปลักษณะดุร้ายน่ากลัว มีงูพันเศียรยั้วเยี้ย ใครๆ ที่ทำบาปกรรมไว้ในโลกมนุษย์จะหนีทัณฑกรรมที่เทวีทั้งสามพึงลงเอาไม่พ้นไปได้เลย คำอังกฤษเรียกเทวีทั้งสามนี้โดยรวมๆ กันไปว่า The Furies

เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดสจ้าวแดนบาดาล ออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้ท้าวเธอยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้เลย ดังนั้น เมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิภพในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone) ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริงคือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวีเป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้าฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิภพ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็มใจของนาง

ครั้นเมื่อซูสทรงตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา ฮาเดสก็ใช้เล่ห์เพทุบายลวงให้นางต้องมาหาท้าวเธอปีละ 3 เดือนทุกปีไป ดังนั้นในปึหนึ่งๆ ฮาเดสจึงเป็นเทพพ่อม่ายอยู่ถึง 9 เดือน มีเวลาได้อยู่มเหสีเพียงปีละ 3 เดือน เท่านั้น

แต่ทั้งที่ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานถึงปึละ 9 เดือน เทพฮาเดสก็พิสูจน์องค์เองว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์พอสมควร ตลอดเรื่องราวประวัติของท้าวเธอ ปรากฏว่าฮาเดสมีเรื่องนอกใจชายาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น

ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้งๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอทำท่าจะนอกใจธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าวแดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็นพืชประจำพระองค์ตลอดมา

ส่วนการนอกใจครั้งที่สองนั้นได้แก่ ทรงรักชอบพอกับนาง เลอซี (Leuce) ธิดาของอุทกเทพโอซียานุส แต่นางเลอซีมีบุญน้อย เพราะป่วยตายเสียก่อนที่จะตายด้วยมือของเจ้าแม่ดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี หลังจากที่นางตายไปแล้วก็กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งกลายเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีการลึกลับ ณ เมืองอีเลอซีส แต่ไม้ใหญ่อันเป็นพฤกษชาติประจำองค์ของเทพฮาเดสนั้นกลับเป็นต้นสนเศร้า (Cypress) ส่วนดอกไม้ที่กำเนิดจากมินธีแล้ว ยังได้แก่ดอกขาวบริสุทธิ์ของนาร์ซิสซัส

ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชายัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่นๆ ด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน

“เพี๊ยซ” แค้นถูกด่าแย่งผัว “หมออ้อย” โร่แจ้งความ แฉอีกฝ่ายเลิก “มิกกี้” นานแล้ว

“เพี๊ยซ” ฉุนขาด โดนมือดีแฉผ่านเฟซบุ๊กแย่ง “มิกกี้” ผัว “หมออ้อย” แถมยังด่าหยาบคาย แจงไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นฝีมือหมออ้อย แต่เอะใจเพราะรูปโปรไฟล์เป็นรูปของอีกฝ่าย เจ้าตัวโร่แจ้งความเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของตัวเอง พร้อมรับสนิทกับมิกกี้ในฐานะพี่ชายเท่านั้น ก่อนแฉกลับหมออ้อยเลิกกับฝ่ายชายนานแล้ว

เป็นเรื่องจนได้ หลังมีมือดีแฉผ่านเฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า “เจนีย่า อาโออิ” โดยได้โพสต์ประจานว่าดาราสาว “เพี๊ยซ กนกลดา วิชากุล” อดีตผู้เข้าประกวดนางสาวไทยปี 2552 ไปแย่งพิธีกรหนุ่ม “มิกกี้ ณัฐพงศ์ ชอบชื่น” แฟนของ “หมออ้อย” หรือ “เจนี่ จุฑารัตน์ เทียมสุวรรณ” อีกทั้งยังด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย แถมยังระบุด้วยว่า เพี๊ยซ กับ มิกกี้ ใช้คอนโดของหมออ้อยเป็นที่พลอดรักกันอีกต่างหาก งานนี้ทำเอาสาวเพี๊ยซถึงกับเดือดปุดๆ รวบรวมหลักฐานโร่แจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน บ่ายวันนี้ (31 พ.ค.) พร้อมกับแฉกลับถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ว่าเลิกรากันมานานแล้ว

“คือ พอดีมีคนมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กของเขาค่ะ ว่า หนูอย่างนั้นอย่างนี้ ไปแย่งผัวเขามา ซึ่งมันทำให้หนูเสียหาย แต่หนูก็ไม่รู้ว่าเฟชบุ๊กอันนั้นเป็นของเขาจริงๆ หรือเปล่า แต่รูปโปรไฟล์ก็เป็นรูปเขานะคะ หนูเลยต้องออกมาปกป้องศักดิ์ศรีของตัวเอง”

“ซึ่งส่วนตัวหนูไม่เคยรู้จักกับพี่หมออ้อยเลย แต่ยอมรับกับพี่มิกกี้สนิทกัน เพราะว่าเราทำงานด้วยกันทางทรูวิชั่นส์ มีอะไรก็ปรึกษาเขาในฐานะพี่ชายมาตลอด แค่สนิทกันค่ะ แต่ไม่ได้เป็นแฟนหรือคบกันในฐานะชู้สาวเลย ซึ่งสิ่งที่เขาโพสต์ด่าหนู ว่าดอกทอง แย่งผัว หรือคำหยาบคายทั้งหมดที่เขาโพสต์นั้นมันไม่เป็นความจริงเลยค่ะ คือที่ผ่านมาหนูโดนข่าวทำนองนี้มาตลอดเลย”

“ส่วนเรื่องที่เขาหาว่าพี่มิกกี้หลอกเงินเขามาบำเรอให้หนูอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไม่มีเลยค่ะ เรื่องนี้เพี๊ยซยืนยัน พี่มิกกี้ไม่เคยให้เงินหรือซื้ออะไรให้หนูเลย เพราะเราคบกันในฐานะพี่ชายเท่านั้นเอง หนูจะบอกว่าความสัมพันธ์ของพี่มิกกี้กับพี่หมออ้อยนั้นเขาเลิกกันนานแล้วนะคะ แต่ก็ไม่ทราบสาเหตุว่าเลิกกันเพราะอะไร เพราะฉะนั้นหนูคงไม่ใช่มือที่สามค่ะ”

“หนูยอมไม่ได้ที่จะให้ใครมาโพสต์ประจานแบบนี้ หนูรู้สึกเสียหายมาก ก็อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นลงบันทึกประจำวันไว้แค่นั้น ส่วนปัญหาว่าหนูจะมองหน้าพี่หมออ้อยติดไหม อันนี้ก็ไม่ทราบค่ะ เพราะหนูก็ทำเพื่อศักดิ์ศรีของหนูเท่านั้น ซึ่งอย่างวันนี้ที่จะเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ พี่มิกกี้ก็ทราบ ซึ่งเขาก็บอกเลยว่าแล้วแต่เพี๊ยชแล้วกัน ว่าจะตัดสินใจอย่างไร”

ดูรูปและข้อความร้อนแรงเต็มๆได้ต่อที่ http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9550000066841

ขอบคุณข่าวแซ่บจากผู้จัดการออนไลน์

ตำนาน แทพแห่งสงคราม เทพาอาเรส (Ares) หรือ Mars


แอรีส หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย

แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า

แอรีส ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดท์เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูส กับเจ้าแม่ ฮีรา และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวงเว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงคราม

ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่าเธอเป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวี เกี่ยวกับการสงครามแท้ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ถึงแก่ประณามเธอว่า "ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง" เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าว โดยสำนวนปัจจุบัน เราจะเห็นว่า อาเรส คือ เทพอันธพาลของกรีก

อาเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับฮีร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูสตรัสใส่หน้าเลยว่า "เจ้าเป็นที่น่าชังที่สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!" ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของอาเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง อาเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่ แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่ามากซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้อาเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า "ฟ้าให้อาเรสเกิดแล้วไฉนให้เอเธน่ามาเกิดอีกเล่า" เวลาพบกันทีไรจึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไปพบกันกลางทางและมีเรื่องทะเลาะกันอย่างเคย เทพอาเรสเกิดบันดาลโทสะ จึงขว้างจักรอันเรืองฤทธิ์แรงกล้าพอๆ กับอสนีบาตขององค์ซูสเทพบิดา เข้าใส่เอเธน่า เจ้าแม่เอี้ยวหลบแล้วทรงยกเอาหินที่วางอยู่แถวๆ นั้นขึ้นทุ่มตอบกลับไป หินก้อนนั้นมิใช่หินธรรมดา แต่เป็นหินที่ตั้งไว้เพื่อแสดงเขตแดนของนคร หินนั้นกระทบถูกอาเรสเข้าให้ถึงกับทรุดลงกองกับพื้น ก่อนที่เทวีเอเธน่าจะกลับไปเจ้าแม่ยังกล่าวเยาะให้เจ็บใจเล่นด้วยว่า "เจ้างั่ง! เพียงแค่นี้ เจ้าก็เดาได้แล้วใช่ไหมว่าเรี่ยวแรงของเรามากขนาดไหน อย่าแหยมมารบกวน เราอีกต่อไปเลย!" 

เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอาเรสองค์นี้ คือในฐานะที่เป็นเทพแห่งสงคราม ตามปกติหากรบที่ไหนต้องมีชัยที่นั่น แต่ผิดถนัดสำหรับเทพองค์นี้ หากว่าอาเรสรบที่ไหนปราชัยที่นั่นมากกว่า จนน่าประหลาดใจ นอกจากจะพ่ายแพ้แก่เทวีเอเธน่าแล้ว ยังแพ้มนุษย์อีกด้วย อาทิเช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส เคยสังหารโอรสของอาเรสมาแล้ว ครั้นผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็ถูกต่อยตีจนต้องหลบหนีขึ้นไปบนโอลิมปัสแทบไม่ทัน เมื่อนำเรื่องทูลฟ้องซูสเทพบดี ไท้เธอก็ตัดสินไกล่เกลี่ยให้เลิกรากันไป เนื่องจากแท้ที่จริง เฮอร์คิวลิสก็เป็นโอรสของไท้เธอเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีมารดาเป็นมนุษย์สามัญ

เทพอาเรสมักเสด็จไปไหนๆ โดยรถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธของเธอส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ เดมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บริวารนี้บางตำนานกล่าวว่าเป็นโอรสของเทพอาเรส ในทางดาราศาสตร์เมื่อตั้งชื่อดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว ก็เลยตั้งชื่อดวงจันทร์บริวารทั้งสองของดาวอังคารว่า เดมอสกับโฟบอสตามตำนานไปด้วยเลย

ในด้านความรักของอาเรสนั้นเร่รักไปเรื่อยเช่นเดียวกับเทพบุตรอื่นๆ ในโอลิมปัส ไม่ได้ยกย่องใครเป็นชายา แต่มีเรื่องรักสำคัญของอาเรสอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่การลักลอบเป็นชู้กับเทวีแห่งความงามและความรักนาม อโฟรไดท์

เมื่ออาเรสเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ (ชาวกรีก) เช่นนั้นพฤติการณ์ของเธอตอนเป็นชู้กับเทวีอโฟรไดท์จึงเป็นที่ครหารุนแรงและมวลเทพก็คอยจ้องจับผิดก็เพราะความมืดของราตรีกาลเป็นใจ ตราบใดเธอหลบไปได้ก่อนดวงอาทิตย์ของอพอลโลไขแสง หากยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา ตราบนั้นพฤติการณ์ของเธอก็ยังคงเป็นความลับ เธอเกรงกลัวอยู่ก็แต่แสงสว่าง ซึ่งเปรียบประดุจนักสืบของเทพอพอลโลเท่านั้น ถ้านักสืบนั้นแฉ พฤติการณ์ของเธอให้ประจักษ์แก่เทพอพอลโลแล้ว เทพอพอลโลก็คงจะนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ถึงกรณีที่เธอลักลอบกับเทวีอโฟรไดท์เธอจึงวางยามไว้คนหนึ่งให้คอยปลุกเมื่อใกล้รุ่ง ผู้ทำหน้าที่นี้คือ หนุ่มน้อยชื่อว่า อเล็กไทรออน (Alectryon)

ในคราวที่ความจะแตก อเล็กไทรออนหลับยามเพลินไปจนรุ่งเช้าเป็นเหตุให้อพอลโลเห็นอาเรสกับอโฟรไดท์นิทราหลับอยู่ด้วยกัน อพอลโลจึงนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ฮีฟีสทัสสานร่างแหเหล็กเตรียมไว้ก่อนแล้ว พอได้ความดังนั้นก็หอบร่างแหไปทอดครอบอาเรสกับอโฟรไดท์ไว้ให้เทพทั้งปวงมาดูและหัวเราะเยาะอย่างครื้นเครง แล้วจึงปล่อยไป ฝ่ายอาเรสได้รับความอัปยศอดสูท่ามกลางธารกำนัลยิ่งนัก จึงสาปอเล็กไทรออนให้กลายเป็นไก่ ทำหน้าที่คอยขันยามในเวลาใกล้รุ่งทุกคืน เป็นการลงโทษในการที่หลับยาม

ด้วยเหตุนี้ไก่ผู้ทุกตัวที่เกิดขึ้นในโลก จึงสืบสกุลมาจากไก่อเล็กไทรออนตัวแรกนั้นทั้งสิ้น

และผลของการอภิรมย์ของคู่นี้ ทำให้เทวีอโฟร์ไดท์ ประสูติธิดาออกมาองค์หนึ่งนามว่า อาร์โมเนีย ซึ่งต่อมาได้ เป็นราชินีแห่งนครธีบส์

ตำนาน แทพแห่งดวงอาทิตย์ เทพอพอลโล (Apollo)


อพอลโล (Apollo) เทพคู่แฝดผู้น้องของเทวีอาร์เตมิส คือเทพครองดวงอาทิตย์ ซึ่งภายหลังชาวกรีกและโรมันถือว่า เป็นดวงอาทิตย์ทีเดียว เหมือนอย่างที่ถืออาร์เตมิสเป็นดวงจันทร์ฉันนั้น

ในชั้นดั้งเดิมสุริยเทพของกรีกคือ ฮีลิออส(Helios) ซึ่งเป็นบุตรของโอเพอร์เรียน (Hyperion) ในคณะเทพไทแทน แต่เมื่อคณะเทพไทแทนสิ้นอำนาจ ชาวกรีกจึงนับถือเทพ อพอลโลแทนสืบต่อมา เมื่อนาง แลโตนา มารดาของอพอลโล ถูกกระทำด้วยความหึงของเจ้าแม่ฮีรา เพราะเหตุเป็นที่ปฏิพัทธ์เสน่หาของ ซูส ต้องอุ้มครรภ์ หนีงู ไพธอน (Python) ของเจ้าแม่ ซอกซอนไปไม่มีที่จะให้ประสูติบุตรในครรภ์ได้จน ถึงเกาะดีลอส (Delos) เทพโปเซดอน มีความสงสารบันดาลให้เกาะน้อยผุดขึ้นในทะเล นางจึงให้ประสูติอพอลโลกับอาร์เตมิสบนเกาะนั้น ในทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา อพอลโลก็จับงูไพธอนฆ่าเสีย ด้วยเหตุนี้ บางทีอพอลโลก็เป็นที่เรียกขานว่า ไพธูส (Pytheus) แปลว่า "ผู้ประหารไพธอน" นอกจากนี้อพอลโลยังมีชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ มีชื่อตาม สถานที่เกิดว่า ดีเลียน (Felian) ฟีบัส (Phoebus) แปลว่า "โอภาส" หรือ "ส่องแสง" เป็นต้น ชื่อหลังนี้มัก ใช้บวกกับชื่อประจำว่า ฟีบัส อพอลโล

เมื่อให้ประสูติบุตรแล้ว นางแลโตนาก็ยังไม่พ้นการรังควานของเจ้าแม่ฮีรา ต้องดั้นด้นต่อไปจนถึงแคว้น เคเรีย (Caria) ซึ่งอยู่ในเอเซียไมเนอร์ปัจจุบันนี้ นางจำเป็นต้องหยุดพัก ณ ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งด้วยโรยกำลัง และขอดื่มน้ำจากพวกชาวบ้านที่ออกมาถอนหญ้าคาอยู่ในบริเวณนั้น พวกชาวบ้านแทนที่จะสมเพชสงสารกลับไล่ตะเพิดและด่าทอนางด้วยคำหยาบช้า ทำให้ซูสกริ้วจัดนัก ถึงกับสาปชาวบ้านเหล่านั้นให้กลายเป็นกบไปทั้งหมด ตำนานเรื่องนี้เห็นจะแสดงว่าในละแวกนั้นมีกบชุม และกบปัจจุบันอาจสืบเชื้อสายจากชาวบ้านที่ถูกสาปเหล่านั้นก็เป็นได้

อพอลโลเป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือของเธอ นอกจากนี้เธอยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมังธนู และเธอยังเป็นเทพผู้ถ่ายวิชาโรคศิลป์ ให้แก่มนุษย์เป็นปฐม เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัดความมืดและเป็นเทพแห่ง สัจธรรมผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย

วิหารของเทพอพอลโลนั้น มีอยู่ทั่วไปในประเทศแต่ที่สำคัญที่สุดได้แก่วิหาร ณ เมืองเดลฟี ใกล้ทิวเขาพาร์นาซัส รูปอนุสาวรีย์ โคลอสซัส (Colosus) ที่เขาสร้างอุทิศแด่เธอ ณ เกาะ โรดส์ (Rhodes) นั้นเป็นสิ่งหนึ่งในสิ่งอัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลกสมัยโบราณทีเดียว

เทพอพอลโลได้สำแดงวีรกรรมสังหารผลาญชีวิตคนพาลมากมาย นอกจากเคยฆ่างูยักษ์ไพธอนจนมีชื่อเสียงมหาศาลแล้ว ยังสามารถสังหารยักษ์ อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส (Ephialtes) ซึ่งเป็นเชื้อสายของวงศ์ไทแทนซึ่งคิดล้มซูสเพื่อฟื้นวงศ์ไทแทนคืนมา เป็นต้น แต่มีครั้งหนึ่งที่อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์คนหนึ่งได้จนร้อนถึงไท้เทพซูสต้องออกมาประนีประนอม บุรุษเดินดินคนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิสนั่นเอง เหตุเกิดเพราะเฮอร์คิวลิสไปขอคำพยากรณ์ที่วิหารเดลฟี แล้วได้รับคำทำนายไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะพิธีในวิหารแล้วฉวยเอากระถางธูปไป เทพอพอลโลรีบรุดตามไปท้าเล่นมวยปล้ำเพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำกันอยู่นานไม่อาจรู้แพ้ชนะ ชะรอยซูสเห็นท่าว่าขืนปล่อยไว้นานอพอลโลอาจจะเสียเปรียบพ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้ และอาจเสียหน้าวงศ์เทพแน่ จึงเสด็จลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิสคืนกระถางธูปแก่อพอลโล แล้วให้ เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี

เทพอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใครอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์ซึ่งเป็นเทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่าผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน พระเจ้าไมดาส (Midas องค์ที่จับอะไรก็กลายเป็นทอง) เกิดตัดสินเข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไรอีก จึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที

ตามเรื่องต่างๆ ที่เธอมีบทบาทอยู่ อพอลโลดูจะเป็นเทพใจสูงกว่าองค์อื่นๆ แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมดุร้ายของเธอดังเราจะเห็น จากเรื่องต่อไปนี้

การลงโทษนางไนโอบี

เทพอพอลโลกับเทวีอาร์เตมิสเป็นที่สวาสดิ์ภาคภูมิใจของมารดายิ่งนัก นางถึงแก่โอ้อวดคุยฟุ้งเฟื่องไปไกลว่าจะหาบุตรใครเสมอบุตรของนางเห็นจะไม่มีอีกแล้ว ไม่ว่าจะเปรียบกันในเชิงสิริรูป สติปัญญา หรือพลังอำนาจ ก็ต้องแพ้บุตรของนางหลุดลุ่ย ความนี้เลื่องลือไปถึงนาง ไนโอบี (Niobe) ซึ่งเป็นธิดาของท้าว แทนทะลัส (Tantalus) และมเหสีเจ้ากรุง ธีบส์ (Thebes) นางไนโอบีกลับหัวเราะเยาะและค่อนว่า นางแลโตยามีลูกจะอวดกับเขาแต่เพียง 2 เท่านี้หรือ ส่วนนางเองสิมีถึง 14 เป็นชาย 7 ล้วนแต่มีรูปกำยำงามสง่า และเป็นหญิงล้วนแต่ทรงโฉมวิลาสวิไลถึง 7 นางไนโอบีลั่นวาจาก้าวร้าวสบประมาทนางแลโตนาอีกเป็นอันมาก ซ้ำยังกำเริบเสิบสานถึงแก่ห้ามชาวเมือง ของนางกระทำบูชาเทพอพอลโลและเทวีอาร์เตมิส แถมบังอาจสั่งให้ทำลายรูปเคารพเทพและเทวีคู่นี้จากแท่นที่บูชาในอาณาจักรของนางอีกด้วย นางแลโตนาโกรธแค้นหนักหนาในการที่ถูกหยามหยาบถึงเพียงนี้ จึงเรียกบุตรและธิดาเคียงข้าง และสั่งให้ออกตามฆ่าบุตรและธิดาของนางไนโอบีเสียให้สิ้น

เทพบุตรเทพธิดาคู่แฝดอยู่ในอารมณ์ขึ้งเคียดเต็มที่ จึงขมีขมันออกไปตามคำสั่งทันที อพอลโลพบมานพทั้ง 7 ออกล่าสัตว์ จึงประหารเสียด้วยลูกธนูตายหมดทั้ง 7 คน เมื่อข่าวการตายของบุตรรู้ไปถึงนางไนโอบี นางก็โศกเศร้า โทมนัสนัก ฝ่ายเจ้ากรุงธีบส์สวามีก็ทำลายตัวเองสิ้นไปด้วยอีกคนหนึ่ง ยังเหลือธิดาทั้ง 7 ยังไม่ทันที่มารดาจะวายโศก ก็ถูกเทวีอาร์เตมิสจองประหารอีก

มิใยสาวผู้ถึงฆาตทั้ง 7 จะพยายามหนีให้พ้นลูกธนูของเจ้าแม่แห่งนายพรานอย่างไรๆ ก็ไม่สำเร็จ แม้นางไนโอบีจะพยายามปกป้องลูก และอ้อนวอนขอความอารักขาคุ้มครองจากทวยเทพบนเขาโอลิมปัสสักเท่าใดก็ไม่เป็นผล ธิดาของนางต้องศรล้มกลิ้งตายกันระเนระนาด ที่สุดจนนางที่ซุกอยู่ระหว่างอุระของมารดา เทวีอาร์เตมิสผู้อาฆาตก็ไม่ละเว้น ลูกธนูของเจ้าแม่แล่นเข้าเป้าเสียบนางนั้นให้วายชีวิตไปแทบอุระของมารดาจนได้

นางไนโอบีสูญสิ้นทั้งสามีและบุตรธิดาที่มาดหมายเหลือแต่นางเดียวดายถึงไม่ตายก็เหมือนตาย ความเศร้ารันทดหนุนเนื่องประดังขึ้นมาแน่นอุระ นางก็แข็งชาไปทั้งร่างกาย มิอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ อนิจจา! ร่างของนางกลายเป็นหินตื้อตันไปหมด คงอยู่แต่หยาดน้ำตารินไม่สิ้นสุด แต่วันนั้นมาจนวันนี้ น้ำตานางจะหยุดไหลก็หาไม่ ส่วนรูปหินของนางไนโอบีก็ยังปรากฏอยู่บนเขา ไซปิลัส (Sipylus) จนตราบเท่าทุกวันนี้

นักเทพปกรณัมวิทยาเขาว่ากันว่า เรื่องนี้ก็คือ ตำนานเปรียบเทียบถึงอำนาจของแสงอาทิตย์เมื่อสิ้นฤดูหนาว ซึ่งนางไนโอบีนั้นหมายถึงฤดูหนาว บุตรทั้ง 7 คือระยะกาลแห่งความหนาว และลูกธนูของอพอลโลก็คือแสงอาทิตย์

อพอลโลถูกเนรเทศ

เมื่อยังเยาว์อพอลโลเที่ยวไปตามแว่นแคว้นต่างๆ ทางทิศเหนือของประเทศกรีซ มีดินแดนของชนชาติไฮเพอร์โบเรียนและแคว้นเธสสะลี เป็นต้น เธอเที่ยวผูกสมัครรักใคร่หญิงทั่วไปตามวิสัยหนุ่มรุ่น ในแคว้นเธสสะลีมีสาวเจ้าคนหนึ่งงามนัก ชื่อว่า โครอนนิส (Coronis) เป็นธิดาเจ้าแห่งแคว้นนั้น อพอลโลผูกสมัครรักใคร่ได้เสียกับนางจนเกิดบุตรด้วยกันคนหนึ่ง แต่นางกลับปรากฏว่าเป็นหญิงหลายใจ

ในระหว่างที่นางมีครรภ์ อพอลโลให้นกดุเหว่าขนขาวปลอดตัวหนึ่งเฝ้านางไว้ เมื่อนางคบชู้ นกก็ไปบอกข่าวแก่เทพผู้เป็นนาย อพอลโลบันดาลโทสะ พลอยสาปนกซึ่งบอกข่าวอัปมงคลให้กลับมีขนสีดำไป ดังนั้นนกดุเหว่าจึงมีขนสีดำตั้งแต่นั้นมา ส่วนนางโครอนนิสถูกฆ่า ว่ากันว่าด้วยน้ำมือของเทพอพอลโลเองบ้าง ด้วยคมศรของเจ้าแม่อาร์เตมิสบ้าง แต่บุตรในครรภ์ซึ่งจวนจะครบกำหนดคลอดนั้นรอดตาย ด้วยอพอลโล (บ้างก็ว่าเฮอร์มีส) เอาออกจากครรภ์ ตอนเผาศพนางโครอนนิส แล้วมอบให้แก่ ไครอน (Chiron) ผู้มีชาติเป็นอมนุษย์ เซนทอร์ (Centaur) เป็นผู้เลี้ยงดู ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้

ไครอนนี้เป็นอาจารย์ผู้ปราดเปรื่อง เชี่ยวชาญในวิชาการต่างๆ มีวิชาดนตรี เภสัชกรรมวิทยา และวิชาธนูศิลป์ เป็นต้น เป็นที่นับถือของชาวกรีกโบราณว่า เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชสมุนไพรทำยา และเป็นอาจารย์ของวีรบุรุษคนสำคัญๆ ในเทพปกรณัมมากมาย เช่น อคิลีส เฮอร์คิวลีส เยสัน พีลูส อีเนียส และคนอื่นๆ อีก ในตอนปลายอายุถูกเฮอร์คิวลีสยิงด้วยธนูอาบยาพิษ โดยความสำคัญผิดของเฮอร์คิวลีสในระหว่างที่ตามล้างเซนทอร์พวกหนึ่ง แม้เฮอร์คิวลิสจะช่วยแก้ไขให้รอดตาย และไครอนแม้จะเป็นหมออยู่กับตัว แต่ก็ไม่สามารถถอนพิษยาได้ พิษยาบันดาลให้ไครอนเจ็บปวดรวดร้าวนักหนา ซูสเทพบดีจึงโปรดให้กลายเป็นดาวอยู่ในกลุ่มดาวชื่อ แซชจิเตริอัส (Sagitarius)

บุตรของเทพอพอลโล ที่อาจารย์ไครอนรับฝากไว้นั้นได้ขนานชื่อว่า เอสคิวเลปิอัส (Aesculapius) เป็นเด็กฉลาดเฉลียวมีความเข้าใจแตกฉานและเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่งวิชาที่เขาใส่ใจศึกษาที่สุดได้แก่ โรคศิลป์ เพราะฉะนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขี้น เขาจึงกลายเป็นหมอบำบัดโรคผู้มีความสามารถยิ่ง

ความสามารถของเอสคิวเลปิอัสในการบำบัดโรคนั้นยิ่งกว่าของอาจารย์มาก ด้วยที่สามารถบำบัดโรคและความป่วยไข้ได้ทุกชีวิต ซึ่งไครอนเองทำไม่ได้ ในไม่ช้าชื่อเสียงของเอสคิวเลปิอัสก็เลื่องลือไปไกล ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยหนักหนาสาหัส หรือเล็กน้อย ถ้าได้รับการบำบัดจากเขาแล้วก็ทุเลาลงอย่างรวดเร็ว จนกล่าวได้ว่าหายวันหายคืนเลยทีเดียว ผู้คนพากันไปขอรับการบำบัดโรค ณ สำนักของเขา ทั้งจากใกล้และไกลทุกทิศทาง นับว่าการบำเพ็ญประโยชน์ของเอสคิวเลปิอัสแผ่ไพศาลยิ่ง ทั้งโดยเนื้อนาบุญและโดยระยะทาง

ความสามารถของเอสคิวเลปิอัสเป็นที่เลื่องลือไปจนว่ากันว่า ครั้งหนึ่งเขาสามารถแก้คนตายให้ฟื้นได้ อันเป็นเหตุให้เทพปริณายกซูส กับเทพฮาเดส เจ้าแห่งแดนคนตายเดือดร้อน ทั้งริษยาและหวั่นเกรงในอำนาจบารมีของเอสคิวเลปิอัส หากปล่อยไว้นานไปเบื้องหน้าจะทำให้มนุษย์กำเริบอีก เห็นว่าจะละไว้มิได้ ซูสจึงประหารเอสคิวเลปิอัส ด้วยอสนีบาต

เทพอพอลโลบันดาลโทสะกล้าในการตายของบุตร แต่ไม่รู้จะโกรธเอากับเทพบิดาอย่างไร จึงหันไปไล่เบี้ยเอากับช่างประกอบอสนีบาตถวายซูส คือ เทพฮีฟีสทัส กับยักษ์ไซคลอปส์ เธอน้าวคันธนูเงินมุ่งจะยิงธนูสังหารยักษ์ไซคลอปส์เสียให้สมแค้น แต่ซูสไม่ยอมให้อพอลโลทำเช่นนั้นได้ และเพื่อจะลงโทษบุตรในความอุกอาจดังนี้ ไท้เธอจึงเนรเทศอพอลโลให้ลงมาอยู่ในมนุษย์โลก และให้เป็นข้าของมนุษย์เป็นเวลา 1 ปีเสียก่อน จึงจะพ้นโทษ

ตำนาน จอมมารแห่งนรก ลูซิเฟอร์ (Lucifer)



ลูซิเฟอร์ (Lucifer) จอมมารแห่งนรก พวกเราคุ้นเคยกับชื่อนี้มาก อาจจะเพราะว่าเค้ามีบทบาทเยอะในพระคัมภีร์ คำว่าลูซิเฟอร์นั้น เป็นคำละติน มาจากสองคำ คำว่า Lux ซึ่งแปลว่าแสงสว่าง และ Ferrer แปลว่า ผู้นำมา หรือ ผู้ถือ ซึ่งถ้าเอามารวมกันก็จะแปลว่า "ผู้นำมาซึ่งแสงส่วง" หรือถ้าจะแปลตามภาษาชาวบ้านอีกทีก็คงจะแปลว่า รุ่งอรุณ หรือ ดาวแห่งความแสงสว่าง อะไรทำนองนั้น

อดีตอัคระเทวฑูตองค์นี้ พระเป็นเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นมาจากแสงสว่างและให้ความเอ็นดูเป็นอย่างมาก ถือได้ว่า เป็นใหญ่รองมาจากพระเป็นเจ้า ถือได้ว่าเป็นอัคระเทวฑูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตอนนั้นเลยก็ว่าได้ ทว่าด้วยความที่นึกว่าตนเองยิ่งใหญ่เหนือใคร ทำให้ก่อกบฏหักหลังพระเป็นเจ้า และในที่สุดก็ตกจากสวรรค์ กลายมาเป็น "ปีศาจ"

ตามตำนานของชาวฮิบรู ลูซิเฟอร์ ได้ถูกยุยงโดยซาตานอีกทีนึง (เห็นได้ว่าตำนานฮิบรู ลูซิเฟอร์ และ ซาตานเป็นคนละคนกัน) ซึ่งในพระคัมภีร์ของฮิบรูนั้น ซาตานก็เป็นหนึ่งในอัคระเทวฑูตด้วย ชื่อว่า Satan-Sataniel (หรือ Samael?) ว่ากันว่าซาตานต้องการที่จะเป็นที่สุดในจักรวาล เลยได้ยุยง (บางก็บอกสิงสู่) เทพบางองค์ ทำให้เป็นมารร้าย

ตามตำนานของชาวคริสต์ ในคัมภีร์ The Old Testament ได้แปลคำว่า Helel เป็น ลูซิเฟอร์ และได้โยงกับปีศาจร้ายที่มีร่างเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่ลอบเข้ามาในสวนอีเดนและหลอกลวงอดัมและอีฟ

ในยุคกลาง นักบุญเจอโรม (St.Jerome) หลวงพ่อในศาสนะจักร คิดว่า ลูซิเฟอร์ ไม่ใช่ชื่อที่ดีสำหรับ "ปีศาจ" และได้เปลี่ยนมาเป็น "ซาตาน" จนในที่สุด ทั้งสองก็ได้รวมมาเป็นคนเดียวกัน ซึ้งจะเห็นได้ว่าในพระคัมภีร์บางทีก็ชื่อลูซิเฟอร์ บางทีก็ชื่อ ซาตาน

ในตำนานกรีกบางที คำว่า ลูซิเฟอร์ เปลียบได้กับดาววีนัส (ซึ่งลูซิเฟอร์เป็นชื่อเดิมของดาววีนัส)

ในบางตำนานของชาวเพแก้น หรือ วิคคา บอกไว้ว่า เมื่อพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา ก็ได้ให้ความดูแลสนใจในตัวมนุษย์มากกว่าผู้อื่นใด ซึ่งมากกว่าตัวลูซิเฟอร์เองด้วย ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยใจและประชดพระเป็นเจ้าโดยการนำพรรคพวกมาก่อกบฏ ในบางความเชื่อของชาวเพเก้น เชื่อกันว่า ลูซิเฟอร์นั้นอยู่ที่ยุโรปและเอเชีย

ทุกวันนี้ มีลัทธิเกิดขึ้นมาใหม่ ที่มีลูซิเฟอร์เป็นเทพของพวกเขา และเรียกตัวเองว่า ลูซิเฟอเรี่ยน (Luciferains) ตามชื่อศาสดาของพวกเขา Lucifer Calaritanus บิช๊อปของลูซิเฟอเรี่ยน ซึ่งเชื่อว่าพระเยซูคริสต์ไม่ใช่ผู้ที่ถูกเลือกและเป็นเทพ แต่คือลูซิเฟอร์นั้นเอง (เข้าข่ายพวกลัทธิบูชาซาตาน หรือ บูชาปีศาจ) ในคัมภีร์ของพวกเค้า ได้บอกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ "ก่อนจะร่วงหล่น" หรือ Before the fall ซึ่งเล่าเรื่องราวไว้ว่า เมื่อพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ ลูซิเฟอร์นั้นเอ็นดูมนุษย์เป็นอย่างมากและหลงไหลกับความใสซื่อบริสุทธิ์ของมนุษย์ แต่เป็นเพราะว่าการที่มนุษย์นั้นใสซื่อนั่นเอง ทำให้มนุษย์ไม่รู้สึกถึงตัวตนของพระเป็นเจ้า ในคัมภีร์เลยบอกไว้ว่า พระเจ้าได้เสกให้งูมาล่อลวงมนุษย์ ให้กินผลไม้แห่งปัญญา พอมนุษย์ได้กินเข้าไป ก็ได้รู้สึกถึงพระเป็นเจ้า และ ได้ขับออกจากสวนอีเดนไป พอลูซิเฟอร์รู้เรื่องเข้าก็ได้โกรธและก่อกบฏขึ้น นี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ทำมาเพื่อโน้มน้าวจิตใจของสาวกลัทธิลูซิเฟอเรี่ยน ซึ่งต่อมาได้เป็นลัทธินอกรีต และมีกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ บางกลุ่มก็ได้ใช้ยาเสพติด หรือ เสียงเพลงเพื่อนกล่อมประสาท

ทำไมลูซิเฟอร์ถึงได้เป็นตัวแทนของบาปแห่งความหยิ่งพยองทุกๆ ท่านก็คงรู้แล้วสินะครับ เป็นเพราะลูซิเฟอร์นึกว่าตนเองเก่งกว่าใครและมีพลังมากกว่าคนอื่น ทำให้หลงผิดและก่อกบฏขึ้น ทำให้ก่อสงครามสวรรค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยลูซิเฟอร์ได้ชักจูงเทพ 2 ใน 3 (บางก็ว่า 3/5) ของเทพบนสวรรค์ มาต่อสู้กับกองทัพสวรรค์ นำทับโดยอัคระเทวฑูต มิคาเอล และได้พ้ายแพ้ไปในที่สุด

ในตำนานบอกไว้ว่าลูซิเฟอร์นั้น มักจะปรากฏกายในรูปของมังกร หรือ สิงโต และมีลูกน้องที่พักดีเสมือนแขนทั้งสองข้าง ชื่อว่า Satanackia และ Agalierap

สัญลักษณ์ของลูซิเฟอร์มักจะใช้เป็น กางเขนกลับหัว

เลขแห่งความโชคร้าย  หรือเลขประจำตัวลูซิเฟอร์คือ 666  ซึ่งเลขแห่งความโชคดีหรือเลขของพระคริสต์ คือ 333